เอส แอนด์ พีกำหนดกลยุทธ์สู่ความยั่งยืน ภายใต้ 3 เสาหลัก ได้แก่ People Planet และ Profit บนพื้นฐานของการกำกับดูแลกิจการที่ดี ภายใต้คำมั่นสัญญา "Healthier Family, Happier World" โดยมีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือการรักษาสมดุลของผลกระทบในมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่เหมาะสมทั้งต่อบริษัทและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม เพื่อสุขอนามัยที่ดีของผู้บริโภค คู่ค้าธุรกิจ และชุมชน ตลอดจนรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วยการขับเคลื่อนการทำงานอย่างสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของโลก Sustainable Development Goals (SDGs) ภายใต้กรอบการรายงานของ Global Reporting Initiative (GRI) ซึ่งนับเป็นเครื่องมือในการกำหนดประเด็นความยั่งยืน ขอบเขตและแนวทางการจัดการธุรกิจที่ยั่งยืนได้อย่างครอบคลุมสำหรับบริษัท อันได้แก่

การกำกับดูแลและจริยธรรมทางธุรกิจ

เอส แอนด์ พี ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ด้วยเชื่อมั่นว่าการกำกับดูแลกิจการที่ดีคือรากฐานสำคัญของการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเป็นปัจจัยในการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันทางธุรกิจ สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียในระยะยาว โดยระบุเป็นความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัทในการกำหนดนโยบายและระเบียบปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยสอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งจัดให้มีการทบทวนและปรับปรุงแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดีให้มีความเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ และมุ่งเน้นการสื่อสารเพื่อสร้างความรู้ความเข้าถึงการกำกับดูแลกิจการที่ดีให้กับผู้บริหารและพนักงานของกลุ่มบริษัทได้รับทราบและถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดโดยต่อเนื่อง มีการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม และเปิดเผยข้อมูลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบอย่างทั่วถึง โปร่งใส และทันต่อเหตุการณ์

แนวทางการดำเนินงาน
  • กำหนดโครงสร้างการกำกับดูแลกิจการที่ดี ตั้งแต่โครงสร้างคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการชุดย่อย ไปจนถึงระดับปฏิบัติการเพื่อให้มีความเป็นอิสระจากกัน
  • จัดอบรมจรรยาบรรณ / การต่อต้านการทุจริต ให้กับพนักงานเป็นประจำทุกปี และเพิ่มช่องทางสื่อสารทางดิจิทัล เพื่อให้ผู้บริหารและพนักงานทุกคนสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้อย่างต่อเนื่อง
  • มีคณะกรรมการตรวจสอบและคณะทำงาน ติดตามกระบวนการทำงาน การปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติของบริษัท ระเบียบปฏิบัติสำหรับคู่ค้า และประกาศนโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างชัดเจน รวมถึงการดำเนินคดีทางแพ่งและทางอาญากับผู้บริหารและพนักงานที่กระทำความผิดตามกฎหมาย

ช่องทางการร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแส

บริษัทฯ ให้ความสำคัญและคุณค่ากับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มของบริษัท จึงจัดทำแพลตฟอร์มเพื่อเป็นการสนับสนุนการรับข้อร้องเรียนหรือการแจ้งเบาะแสที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตหรือพฤติกรรมที่ผิดจริยธรรมภายในองค์กร ซึ่งสามารถแจ้งเรื่องร้องเรียนได้ตลอดผ่านช่องทางต่อไปนี้

การทบทวนและปรับปรุงกระบวนการ

บริษัทฯ ได้ทบทวนและปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ดังนี้

  1. ทบทวนปรับปรุงระเบียบการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและมีการควบคุมภายในที่ดีโดยนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการทำงาน เช่น นำโปรแกรม RPA (Robotic Process Automation) มาใช้ทดแทนการปฏิบัติงานที่ทำประจำ เช่น การ Reconcile เทียบกับ Statement Bank การออก Sales Order ของหน่วยงานขาย เป็นต้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัตงานและลดขั้นตอนในหน่วยงานต่างๆ
  2. สนับสนุนการรับชำระค่าสินค้าผ่านบริการ Payment Online มากขึ้น เพื่อโดยลดการถือเงินสดของพนักงาน

การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน

การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างมีความรับผิดชอบเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดการส่งมอบสินค้าจากกระบวนการผลิตไปสู่ผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถลดความเสี่ยงได้ อาทิ ความเสี่ยงด้านต้นทุน ความเสี่ยงด้าน การขาดแคลนวัตถุดิบและสินค้าคงคลัง ความเสี่ยงในการหยุดชะงักของธุรกิจ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินธุรกิจ และภาพลักษณ์ของบริษัท รวมถึงลดผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่อุปทาน

กลยุทธ์การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน

บริษัทฯ กำหนดกลยุทธ์การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นกรอบในการดำเนินงาน และเพื่อการบริหารจัดการคู่ค้าให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิผล ตลอดจนเพื่อเพิ่มผลกำไรของบริษัท และสร้างความตระหนักของคู่ค้าเกี่ยวกับความยั่งยืน ในขณะเดียวกันจะเป็นการสร้างความไว้วางใจให้แก่ลูกค้าด้วยเช่นกัน


ตัวชี้วัดความสำเร็จการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน

ตัวชี้วัดความสำเร็จห่วงโซ่อุปทาน เป้าหมาย ผลการดำเนินงาน
คู่ค้าที่มีมูลค่าการซื้อขายมากกว่า 1 ล้านบาทต่อเดือน ได้รับการตรวจประเมินด้าน ESG ร้อยละ 100 ร้อยละ 100
ผลการประเมินด้าน ESG ของคู่ค้า ระดับเกรด C หรือ มีคะแนน 60 คะแนนขึ้นไป ระดับเกรด C หรือ มีคะแนน 60 คะแนนขึ้นไป
นโยบายและแนวปฏิบัติด้าน ESG
แนวปฏิบัติด้านความรับผิดชอบต่อสังคม
แนวปฏิบัติด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ
แนวปฏิบัติด้านการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ
แนวปฏิบัติด้านการบริหารจัดการพลังงาน
แนวปฏิบัติด้านการบริหารจัดการน้ำ
แนวปฏิบัติด้านการบริหารจัดการของเสีย
แนวปฏิบัติด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน
แนวปฏิบัติด้านการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย
แนวปฏิบัติด้านการจัดหาวัตถุดิบอย่างรับผิดชอบ
แนวปฏิบัติด้านนวัตกรรมและการสร้างคุณค่า
ขั้นตอนการรับข้อร้องเรียนจากการใช้บริการ
การบริหารห่วงโซ่อุปทาน
หลักเกณฑ์การสรรหาและคัดเลือกคู่ค้า
หลักเกณฑ์การระบุคู่ค้าและการคัดเลือกคู่ค้าตรวจประเมิน