เอส แอนด์ พี จัดตั้งสำนักพัฒนาความยั่งยืนและสื่อสารองค์กรขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2561 เพื่อติดตามและรับผิดชอบงานด้านบรรษัทภิบาล ความรับผิดชอบต่อสังคม และความยั่งยืน ให้ตอบสนองต่อประเด็นสำคัญของบริษัท โดยกำหนดแนวทางการดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ และทิศทางการพัฒนาความยั่งยืนของโลก ได้แก่ Sustainable Development Goals (SDGs) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป้าหมาย 5 ข้อ ได้แก่
เป้าหมาย | ผลการดำเนินงาน | ||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
คุณภาพอาหาร ความปลอดภัย สุขภาพ และโภชนาการ | |||||||||||
1. ร้าน S&P ทุกสาขา ผ่านเกณฑ์การประเมินมาตรฐานคุณภาพและบริการ QSC (Quality Service and Cleanliness) ภายในปี 2568 ![]() ![]() |
S&Pตั้งเป้าหมายร้านที่ผ่านเกณฑ์ประเมินคุณภาพ QSC (Quality Service and Cleanliness) ในมาตรฐานระดับสูงที่ 85% ขึ้นไป สำหรับปี 2563 มีการตรวจประเมินคุณภาพ QSC (Quality Service and Cleanliness) ที่ร้าน S&P ทุกสาขา โดยมีผลการตรวจประมาณดังนี้
|
||||||||||
2. ยกระดับมาตรฐานสายการผลิตสำหรับโรงงานผลิตอาหารและเบเกอรี่ S&P โดยมีเป้าหมายการรับรอง ISO 22000: 2018 ภายในปี 2568 ![]() |
โรงงานผลิตอาหารและเบเกอรี่ S&P ได้ดำเนินการยื่นขอยกระดับมาตรฐานการรับรองระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหารสู่มาตรฐาน ISO 22000: 2018 ฉบับใหม่ ภายในปี 2564 ปัจจุบัน S&P ได้รับการรับรองมาตรฐานโรงงาน ดังนี้ - GMP |
||||||||||
3. มีการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ / เมนู S&P เพื่อสุขภาพสำหรับเป็นทางเลือกให้แก่ผู้บริโภคจำนวน 100 รายการภายในปี 2568 ![]() |
ปี 2563 มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เบเกอรี่เพื่อสุขภาพ จำนวน 2รายการ ได้แก่ขนมปังมัลติเกรนเบรด และ คุกกี้ธัญพืช ส่งผลให้ S&P มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ / เมนูเพื่อสุขภาพรวม 37 รายการ นับจากปี 2562 ซึ่งเป็นปีที่กำหนดเป้าหมาย |
เป้าหมาย | ผลการดำเนินงาน |
---|---|
ลูกค้าสัมพันธ์ | |
ลูกค้ามีความพึงพอใจต่อสินค้าและบริการของ S&P อยู่ในระดับ 85% ภายในปี 2568 ![]() ![]() |
ในปี 2563 ลูกค้ามีความพึงพอใจต่อสินค้าและบริการของ S&P โดยเฉลี่ย 81% จากการสอบถามความพึงพอใจของลูกค้า 3 ด้าน ด้วยระดับผลการประเมินแต่ละด้าน ดังนี้ - ด้านรสชาติอาหาร 83% ทั้งนี้ เป็นการสอบถามความพึงพอใจของลูกค้าผ่านช่องทาง E-Survey โดยลูกค้าสแกนรหัสคิวอาร์เพื่อประเมินความพึงพอใจในท้ายใบสร็จจากลูกค้าจำนวน 6,591 คน ในช่วงระหว่างวันที่ 1 ม.ค.-31 ธ.ค. 2563 |
เป้าหมาย | ผลการดำเนินงาน |
---|---|
บรรจุภัณฑ์ | |
บรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าหน้าร้าน S&P ต้องสามารถรีไซเคิลหรือย่อยสลายได้ 100% ภายใน ปี 2565 ![]() ![]() |
มีการปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 36 รายการ ส่งผลให้สามารถลดการใช้พลาสติกลงได้มากกว่า 111 ตันในปี 2563 |
เป้าหมาย | ผลการดำเนินงาน |
---|---|
การจัดการของเสียและเศษอาหาร | |
1. มีการวางแผนเพื่อควบคุมจำนวนเบเกอรี่ของเสียให้ลดลง 30% ภายในปี 2573 ![]() ![]() ![]() ![]() |
ในปี 2563 มีมูลค่าของเสียเบเกอรี่จำนวน 199 ล้านบาท ลดลง 15 % (เทียบจากปี 2561 ซึ่งมีมูลค่าของเสียเบเกอรี่จำนวน 234 ล้านบาท) |
2. มีการคัดแยกขยะที่ร้าน S&P ทุกสาขา ![]() |
ในปี 2563 เอส แอนด์ พี เริ่มมีการเก็บบันทึกข้อมูลการแยกประเภทของขยะ ณ สำนักงานใหญ่ และร้าน S&P สาขาโรงพยาบาล จำนวน 65 สาขา โดยเป็นการนำร่องเพื่อออกแบบและวางแผนการดำเนินงานคัดแยกขยะที่ร้าน S&P ทุกสาขาอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป |
เป้าหมาย | ผลการดำเนินงาน |
---|---|
การพัฒนาบุคลากร | |
1. ลดอัตราการลาออกของพนักงานระดับบริหาร ให้ไม่เกิน 5% ภายในปี 2568 |
ปี 2563 มีอัตราการลาออกของพนักงานระดับบริหาร 8% |
2. มีเป้าหมายการพัฒนาบุคลากรโดยมีค่า HCROI เพิ่มขึ้น 20% ภายในปี 2568จาก 3.08 ในปี 2561 ![]() ![]() |
ในปี 2563 มีระดับการพัฒนาบุคลากร โดยวัดเป็นค่าHuman Capital Return on Investment (HCROI) เท่ากับ 3.02 |